งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ





งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (statement of changes in equity) หมายถึง      งบการเงินที่แสดงรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ
การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี   ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่องการนำเสนองบการเงินกำหนดไว้ว่า งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของจากการกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด โดยให้เปิดเผยการเปลี่ยนซึ่งเป็นผลมาจากดังต่อไปนี้ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552 )
1.    กำไรหรือขาดทุน
2.    แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และ
3.    รายการกับผู้เป็นเจ้าของจากความสามารถในการเป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 20/2554 เรื่อง มาตรฐานการายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2554) ได้กำหนดให้กิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงของเจ้าของโดยนำเสนอรายการต่อไปนี้
1.    เงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและจ่ายคืนให้แก่เจ้าของ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไร
2.    กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาของการรายงาน
3.    ยอดคงเหลือ ณ วันต้นงวด ของกำไร (ขาดทุน) สะสม และรายการต่าง ๆ ในส่วนของเจ้าของ การเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ ระหว่างงวดและยอดคงเหลือของรายการนั้น ๆ ณ วันสิ้นงวด
4.    รายการซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ






ตัวอย่างที่ 6 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

บริษัทอนุสรณ์ จำกัด (มหาชน)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2
รายการ
ทุนจดทะเบียน
กำไรสะสม
การเปลี่ยน แปลงค่าการ  ดำเนินงานต่าง ประเทศ
สินทรัพย์ทางการเงิน เผื่อขาย
การป้องกันความเสี่ยงกระแส เงินสด
ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์
ส่วนได้เสียที่ไม่ได้ควบคุม
รวม    ส่วนของเจ้าของ
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 25x1








ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี








ยอดคงเหลือที่ปรับปรุง








การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสำหรับปี 25x1
เงินปันผล
กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
รวมสำหรับปี








ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x1








การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสำหรับปี 25x2








การออกหุ้นทุน
เงินปันผล
กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโอนไปกำไรสะสม








ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x2









งบกระแสเงินสด

            งบกระแสเงินสด (statement of cash flow) เป็นอีกงบการเงินหนึ่งที่ฝ่ายบริหารของกิจการควรจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่องการนำเสนองบการเงิน
งบกระแสเงินสด หมายถึง งบการเงินที่แสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ได้รับเข้ามา เงินสดที่จ่ายออกไป และเงินสดเปลี่ยนแปลงสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงินของกิจการในระหว่างงวดบัญชีหนึ่ง โดยการกระทบยอดเงินสดยกมาต้นงวดให้เท่ากับเงินสดคงเหลือปลายงวด (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552 )
            จุดมุ่งหมายของงบกระแสเงินสด  เป็นการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับเงินสดรับและเงินสดจ่ายของธุรกิจในระหว่างช่วงเวลาหนึ่งโดยจัดแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงิน
            ประโยชน์ของการจัดทำงบกระแสเงินสด  สรุปได้ดังนี้
1.    ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์สุทธิของกิจการ
2.    ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินโครงสร้างทางการเงินของกิจการ รวมถึงสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้
3.    ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับจำนวนเงินและระยะเวลาของกระแสเงินสด
4.    ผู้ใช้งบการเงินเป็นสามารถประเมินความสามารถในการทำกำไรของกิจการ
5.    ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปใช้ประเมินผลการดำเนินงาน วางแผนการลงทุนในอนาคต  ตลอดจนกิจกรรมด้านการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ
งบกระแสเงินสดต้องแสดงกระแสเงินสดในระหว่างงวด โดยจำแนกประเภทกระแสเงินสดรับ และกระแสเงินสดจ่าย ออกเป็น 3 กิจกรรม คือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน   กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.    กิจกรรมการดำเนินงานเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เพียงพอเพื่อจ่ายชำระเงินกู้ยืม เพื่อการดำเนินงานของกิจการ เพื่อจ่ายเงินปันผล และเพื่อการลงทุนใหม่ ๆ โดยไม่ต้องมีการจัดหาเงินจากแหล่งเงินภายนอก ดังนั้นกิจกรรมดำเนินงานจึงเป็นกิจกรรมที่เกิดจากรายการค้าที่มีผลต่อกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นรายได้หลักของธุรกิจ  เป็นรายการค้าทั้งหมดที่นอกเหนือจากกิจกรรมการลงทุนและกิจกรรมการจัดหาเงิน  รวมถึงรายการค้าที่มีผลต่อสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน  (ยกเว้นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืม และเงินปันผลค้างจ่าย) และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงบัญชีในงบแสดงฐานะทางการเงินส่วนที่ไม่หมุนเวียน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อกำไรสุทธิ เช่น ค่าเสื่อมราคาสะสมการตัดบัญชีการรายงานกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงานในงบกระแสเงินสดนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือวิธีทางตรง และวิธีทางอ้อม
1.1 วิธีทางตรง เป็นการแสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายตามลักษณะของรายการหลักที่สำคัญต่าง ๆ ของเงินสดรับและเงินสดจ่าย โดยกระแสเงินสดรับจากการดำเนินงาน คือ     เงินสดรับจากการขายสินค้าและการให้บริการ เงินสดรับจากรายได้ค่าสิทธิ ค่าธรรมเนียม             ค่านายหน้า และรายได้อื่น ส่วนเงินสดจ่ายจากการดำเนินงาน คือ เงินสดที่จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าและบริการ ตลอดจนเงินสดที่จ่ายแก่พนักงานและจ่ายค่าตอบแทนของพนักงาน ผลต่างระหว่าง  เงินสดรับ และเงินสดจ่ายจากการดำเนินงาน คือ กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงาน
1.2 วิธีทางอ้อม เป็นการรายงานกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน จากการนำกำไรหรือขาดทุนสุทธิมาปรับปรุงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในระหว่างงวดของสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงาน รวมถึงรายการที่ไม่กระทบเงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคา ประมาณการหนี้สิน ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ผลกำไรและขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลง         ค่าเงินตราต่างประเทศและกำไรที่ยังไม่ได้รับจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน และเงินสดจ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้าและเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้า และการจ่ายคืนเงินล่วงหน้าและเงินให้กู้ยืม
2.    กิจกรรมลงทุนเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่รวมถึงกำไรสุทธิ ประกอบด้วย การจัดหาหรือการขายสินทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน โรงงาน อาคาร และอุปกรณ์ การได้มาหรือการขายหลักทรัพย์ที่ถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาว เช่น หุ้นกู้และหุ้นสามัญของบริษัทอื่น การซื้อขายตราสารทางการเงิน เช่น ตั๋วเงิน ซึ่งเป็นตั๋วเงินรับหรือตั๋วเงินจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน โดยจะไม่รวมถึงตั๋วเงินที่เกิดจากการจ่ายหรือรับชำระหนี้ค่าสินค้า การให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงิน และการได้รับชำระหนี้เงินกู้ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะต้องพิจารณาว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อกำไรสุทธิหรือไม่  เช่น ค่าเสื่อมราคา  ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี  ซึ่งทั้ง 2 บัญชีจะจัดประเภทเป็นกิจกรรมดำเนินงาน
3.  กิจกรรมจัดหาเงินเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับเงินสดรับที่ได้จากการจัดหาเงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น แหล่งเงินทุนระยะยาว หรือจากการออกจำหน่ายหุ้นทุน หรือหุ้นกู้ เช่น การกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ และกิจกรรมเกี่ยวกับจ่ายเงินสด เพื่อการจ่ายเงินปันผล การซื้อหุ้นกลับคืนมา การจ่ายคืนเงินทุนระยะยาว หรือการจ่ายชำระหนี้ให้กับผู้ให้กู้ และรายการที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของบริษัท



ตัวอย่างที่ 7 งบกระแสเงินสดโดยวิธีทางตรง

บริษัทสายชล จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน


เงินสดรับจากลูกค้า
234,200

เงินสดรับจากการดำเนินงาน
2,660

      เงินสดจ่ายสำหรับซื้อสินค้า
(157,040) 

      เงินสดจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
(38,760)

เงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ยจ่าย
(1,600)

      เงินสดจ่ายสำหรับภาษีเงินได้
(16,700)

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

22,760
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน


      เงินสดรับจากการขายที่ดิน
14,000

      ซื้อที่ดิน
(3,000)

      ซื้ออาคาร
(12,000)   

กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปจากกิจกรรมลงทุน

(1,000)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน


      เงินสดรับจากการขายหุ้นสามัญ
9,600

      จ่ายชำระคืนหุ้นกู้
(10,000)

      จ่ายเงินปันผลจ่าย
(4,800)

กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปจากกิจกรรมจัดหาเงิน

(5,200)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเพิ่มขึ้นสุทธิ

16,560
เงินสดและรายการเทียบเท่า ณ วันต้นงวด

5,200
เงินสดและรายการเทียบเท่า ณ วันสิ้นงวด

21,760



ตัวอย่างที่ 8 งบกระแสเงินโดยวิธีทางอ้อม

บริษัทสายชล จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2
                                                                                    หน่วย : บาท


กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไรก่อนภาษี
43,020

      ปรับปรุงด้วย



ค่าเสื่อมราคา
1,400


กำไรจากการขายที่ดิน
(2,400)


สินค้าคงเหลือลดลง
1,600


ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น       
(1,800)


เจ้าหนี้การค้าลดลง
   (640)


จ่ายภาษีเงินได้ค้างจ่าย
(120)


เงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ยจ่าย
(1,600)


เงินสดจ่ายสำหรับภาษีเงินได้
(16,700)


กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

22,760
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
      เงินสดรับจากการขายที่ดิน
14,000

      ซื้อที่ดิน
(3,000)

      ซื้ออาคาร
(12,000)   

กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปจากกิจกรรมลงทุน

(1,000)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน


      เงินสดรับจากการขายหุ้นสามัญ
9,600

      จ่ายชำระคืนหุ้นกู้
(10,000)

      จ่ายเงินปันผลจ่าย
(4,800)

กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปจากกิจกรรมจัดหาเงิน

(5,200)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเพิ่มขึ้นสุทธิ

16,560
เงินสดและรายการเทียบเท่า ณ วันต้นงวด

5,200
เงินสดและรายการเทียบเท่า ณ วันสิ้นงวด

21,760

1 ความคิดเห็น:

  1. คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วน?
    * การโอนเงินที่รวดเร็วมากและเร่งด่วนไปยังบัญชีธนาคารของคุณ
    * การชำระเงินเริ่มแปดเดือนหลังจากที่คุณได้รับเงินของคุณใน
    บัญชีธนาคาร
    * อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2%
    * การชำระเงินระยะยาว (1-30 ปี) ระยะเวลา
    * เงื่อนไขเงินกู้ที่มีความยืดหยุ่นและการชำระเงินรายเดือน
    * * * * มันใช้เวลานานเท่าใดเพื่อกองทุน? หลังจากที่ยื่นขอสินเชื่อ,
    คุณสามารถคาดหวังว่าการตอบสนองเริ่มต้นของน้อยกว่า 24 ชั่วโมงและ
    การระดมทุนภายใน 72-96 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับข้อมูลที่เราต้องการ
    จากคุณ.

    ติดต่อ บริษัท อย่างเป็นทางการเงินกู้ที่ถูกต้องและได้รับใบอนุญาต
    ที่ช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศอื่น ๆ
    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและแบบฟอร์มใบสมัครสินเชื่อผ่านการติดต่อในขณะนี้

    อีเมล: saraelahi239@gmail.com

    ตอบลบ