งบแสดงฐานะการเงิน





งบแสดงฐานะการเงิน (statement of financial position) หมายถึง การรายงานทางการเงินที่ทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงให้เห็นฐานะการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวด   องค์ประกอบของงบแสดงฐานะการเงิน จึงเป็นรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552 )
1.  สินทรัพย์ (asset)
1.1   สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต โดยประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ หมายถึง ศักยภาพของสินทรัพย์ในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดแก่กิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม 
1.2   สินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสินทรัพย์หมุนเวียน (current asset) และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (non-current assets)
1.2.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (current asset) กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1.2.1.1  กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือตั้งใจจะขายหรือใช้สินทรัพย์นั้นภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
1.2.1.2    กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือมีไว้เพื่อค้า
1.2.1.3    กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน
1.2.1.4    สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ในการชำระหนี้สินอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลางาน

สินทรัพย์หมุนเวียนในกิจการโดยทั่วไป มีดังนี้
เงินสด  (cash) หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดเงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เงินสดย่อย ธนาณัติ      ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เงินฝากธนาคาร กระแสรายวันและออมทรัพย์ เช็คที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง ดราฟท์ของธนาคาร
รายการเทียบเท่าเงินสด (cash equivalents) หมายถึง เงินลงทุนชั่วคราวที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมจะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้ และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อย หรือไม่มีนัยสำคัญ เช่น ตั๋วเงินประเภทเผื่อเรียก ตั๋วเงินที่มีวันถึงกำหนดภายใน 3 เดือน หรือน้อยกว่า
เงินลงทุนชั่วคราว(temporary investment)หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี เงินลงทุนชั่วคราวรวมถึงหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขายเงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่ครบกำหนดภายใน 1 ปี เช่นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาลการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เช่นที่ดินอาคารหรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีค่าเช่นทอง 
ลูกหนี้การค้า (trade receivable) หมายถึง เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่กิจการได้ขายหรือให้บริการตามปกติ
ตั๋วเงินรับ (note receivable-trade) หมายถึง สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากเงื่อนไขที่บุคคลอื่นยอมรับชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่กิจการภายในเวลาที่กำหนดโดยปกติกิจการจะได้รับตั๋วเงินรับจากการขายสินค้าหรือบริการ
ลูกหนี้อื่น (other receivable) หมายถึง ลูกหนี้อื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้การค้า เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ เป็นต้น
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น (short-term loans) หมายถึง เงินให้กู้ระยะสั้น รวมทั้งลูกหนี้ในลักษณะอื่นใด ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนนอกจากลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการและลูกหนี้อื่น
สินค้าคงเหลือ (inventories) หมายถึง สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อขายหรือให้บริการตามปกติของกิจการ ดังนั้นกิจการผลิตสินค้า สินค้าคงเหลือ ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ งานระหว่างทำคงเหลือ วัตถุดิบคงเหลือ ส่วนกิจการจำหน่ายสินค้า สินค้าคงเหลือ ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (prepaid expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายไปก่อนสำหรับสินทรัพย์หรือบริการที่กิจการจะได้รับประโยชน์ในอนาคตอันสั้น โดยปกติจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ค่าเช่าสำนักงานจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
รายได้ค้างรับ (accrued revenue) หมายถึงรายได้อื่น ๆ ของกิจการนอกจากรายได้จากการดำเนินงานตามปกติที่เกิดขึ้นแล้วแต่กิจการยังไม่ได้รับชำระเงินในวันสิ้นงวดเช่น ดอกเบี้ยค้างรับ ค่าเช่าโรงงานค้างรับ
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (other current assets) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นใด นอกจากที่กำหนดข้างต้น
1.2.2    สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (non-current asset) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสินทรัพย์หมุนเวียน รวมถึง สินทรัพย์มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน  สินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ดำเนินงานที่มีระยะยาว และไม่ได้มีข้อห้ามในการใช้ โดยกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในสินทรัพย์นั้นเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินงานของกิจการ 12 เดือน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในกิจการโดยทั่วไป ประกอบด้วย
1.2.2.1 สินทรัพย์มีตัวตน (tangible assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่เป็น ตัวเงินที่สามารถระบุได้และมีลักษณะทางกายภาพ เช่น
งินให้กู้ยืมระยะยาว (long-term loans) หมายถึง เงินให้กู้ยืมระยะยาว รวมทั้งลูกหนี้ในลักษณะอื่นใดซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (property, plant and equipment) หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน โดยกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์นั้นมากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา
ที่ดิน (property) ได้แก่ ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานที่เป็นที่ตั้งสำนักงาน โรงงาน คลังสินค้าและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ
อาคาร (plant) ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง อาคารสำนักงาน โรงงาน ที่ใช้ในการดำเนินงาน
อุปกรณ์ (equipment) ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ สินทรัพย์ถาวรที่ใช้ตกแต่งสำนักงาน   อุปกรณ์อาจแยกเป็นอุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักร เครื่องตกแต่ง พาหนะ ได้แก่ รถยนต์  รถบรรทุก
1.2.2.2  สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (intangible assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีลักษณะทางกายภาพ เช่น
ลิขสิทธิ์ (copyrights) หมายถึง สิทธิตามกฎหมายที่รัฐมอบให้แก่ผู้ทำวรรณกรรมหรือศิลปกรรม รวมทั้งสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย
สิทธิบัตร (patents) หมายถึง สิทธิตามกฎหมายที่รัฐให้แก่บุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นใหม่
สัมปทาน (franchise) หมายถึง สิทธิที่รัฐหรือบริษัทได้ให้แก่บุคคลหรือกิจการเพื่อประกอบกิจการเฉพาะอย่าง 
เครื่องหมายการค้า (trademarks) หมายถึง เครื่องหมายหรือตราชื่อที่กิจการใช้กับสินค้าของตนเพื่อผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตามเครื่องหมายการค้า
สิทธิการเช่า หมายถึง สิทธิในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่เช่าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา กิจการจะจ่ายเป็นค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ที่มีระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี
1.2.2.3 เงินลงทุนระยะยาว (long term investments) หมายถึง การลงทุนซื้อหุ้นทุนหรือหลักทรัพย์ประเภทหนี้หรือพันธบัตรของกิจการอื่น โดยกิจการต้องการลงทุนในเวลาที่นานเกินกว่า 1 ปี โดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะจำหน่ายในระยะเวลาอันสั้น เช่นการซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการอื่น
1.2.2.4  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (other non-current assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจัดประเภทข้างต้นได้ เช่น ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
2.   หนี้สิน (liability)
2.1 หนี้สินหมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้น คาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
2.2 หนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือหนี้สินหมุนเวียน (current liability) และหนี้สินไม่หมุนเวียน (non-current liability)
2.2.1 หนี้สินหมุนเวียน (current liability) กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
2.2.1.1  กิจการคาดว่าจะมีการชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ
2.2.1.2  กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือมีไว้เพื่อค้า
2.2.1.3  ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากรอบระยะเวลารายงาน
2.2.1.4  กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับจากรอบระยะเวลารายงาน
หนี้สินหมุนเวียนในกิจการโดยทั่วไป มีดังนี้
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน (bank overdrafts and short-term borrowings from financial institutions) หมายถึง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น รวมทั้งการขายหรือขายช่วงลดตั๋วเงินกับสถาบันการเงิน ซึ่งจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน
เจ้าหนี้การค้า (trade payable) หมายถึง เงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการตามปกติ
ตั๋วเงินจ่ายการค้า (notes payable-trade) หมายถึง สัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากเงื่อนไขที่กิจการได้รับรองให้ไว้ต่อบุคคลอื่นว่ากิจการจะชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลนั้นภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินสำหรับชำระ ค่าสินค้าหรือบริการ
เจ้าหนี้อื่น (other payable) หมายถึง เจ้าหนี้อื่นที่มิใช้เจ้าหนี้การค้า เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (accrued expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ให้ประโยชน์แก่กิจการแล้วแต่กิจการยังไม่ได้ชำระเงินในวันที่ทำงบแสดงฐานะการเงิน เช่น ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย ค่าแรงค้างจ่าย ค่าเช่าค้างจ่าย
รายได้รับล่วงหน้า (deferred revenue) หมายถึง หนี้สินที่เกิดจากการรับเงินไว้ล่วงหน้าสำหรับค่าสินค้าหรือบริการที่ยังมิได้ให้ลูกค้า จึงเกิดเป็นพันธะที่กิจการจะต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าในอนาคต
เงินปันผลค้างจ่าย (accrued dividend) หมายถึง เงินปันผลที่ประกาศจ่ายแล้วแต่กิจการยังมิได้จ่ายเงินสดให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันทำงบแสดงฐานะทางการเงิน
เงินกู้ยืมระยะสั้น (short-term borrowings) หมายถึง เงินกู้ยืมระยะสั้น รวมถึงหนี้สินในลักษณะอื่นใด นอกจากหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการและเจ้าหนี้อื่น กำหนดชำระภายในหนึ่งปี
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (current income tax payable) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย
2.2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (non-current liability) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระเงินนานเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนินตามปกติของกิจการ ได้แก่
ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (long-term notes payable) หมายถึง ตั๋วเงินจ่ายที่มีกำหนดชำระคืนเกินกว่า 1 ปี
หุ้นกู้ (bonds payable) หมายถึง การจัดหาเงินทุนอย่างหนึ่งของกิจการโดยการแบ่งจำนวนเงินที่ต้องการกู้ออกเป็นหุ้น ราคาแต่ละหุ้นเท่ากัน ราคาหุ้นแต่ละหุ้นกิจการเป็น       ผู้กำหนดขึ้นเอง การออกหุ้นกู้จะต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย กำหนดระยะเวลาการจ่ายดอกเบี้ย   กำหนดเวลาแน่นอนในการไถ่ถอนหุ้นคืนซึ่งจะนานกว่า 1 ปี
เงินกู้ยืมระยะยาว (long-term borrowings) หมายถึง การกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินโดยมีสัญญาการชำระเงินเกินกว่า 1 ปี การกู้ยืมระยะยาวนี้อาจมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่มีก็ได้ 
3.   ส่วนของเจ้าของหมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ หลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว ส่วนของเจ้าของกิจการแยกตามลักษณะของกิจการค้าได้ดังนี้
3.1     ในกรณีที่เป็นกิจการเจ้าของคนเดียว  ส่วนของเจ้าของกิจการประกอบด้วยผลรวมของเงินที่เจ้าของนำมาลงทุนกับผลกำไรที่เกิดขึ้น และหักด้วยส่วนที่เจ้าของถอนทุนและ   ผลขาดทุนที่เกิดขึ้น
การแสดงส่วนของเจ้าของแสดงเป็นยอดเดียวดังนี้
ส่วนของเจ้าของ
ทุน
100,000
บวก กำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ)       
  85,000
หัก ถอนใช้ส่วนตัว
5,000
รวมส่วนของเจ้าของ
180,000
                                                           
3.2     ในกรณีที่เป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน ส่วนของเจ้าของเรียกว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งแสดงส่วนทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนของแต่ละคน และกำไรขาดทุนส่วนที่ยังไม่จัดสรร   สำหรับส่วนทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนนั้น ประกอบด้วย เงินทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนที่จดทะเบียน และนำมาลงทุน ถ้ามีการเพิ่มทุนก็นำมารวมไว้เช่นกัน ในการดำเนินงานผู้เป็นหุ้นส่วนจะได้รับค่าตอบแทน ซึ่งหากผู้เป็นหุ้นส่วนยังไม่มาเบิกเงินไป ห้างหุ้นส่วนจะนำรายการเหล่านี้บันทึกไว้ในบัญชีทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน
3.2.1 ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน (partners,capital) หมายถึง เงินลงทุนของ  ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าจะลงทุนด้วยเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น
3.2.2  กำไร (ขาดทุน) สะสมที่ยังไม่ได้แบ่ง (unappropriated retained earnings)หมายถึง กำไร (ขาดทุน) สะสมคงเหลือเมื่อสิ้นระยะเวลารายงาน และยังไม่ได้แบ่งให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
3.2.3 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน (other components of partners, equity) หมายถึงยอดรวมของผลสะสมเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงานของผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงิน ผลต่างกำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขายและผลต่างกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง



การแสดงส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนเป็นดังนี้
ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน
ทุน
100,000

ทุน
50,000

ทุน
   50,000
200,000
กำไร (ขาดทุน) สะสมที่ยังไม่ได้แบ่ง

50,000
องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน

 50,000
รวมส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน

300,000
                                                                                                           
3.3     ในกรณีที่เป็นกิจการบริษัทส่วนของเจ้าของเรียกว่า ส่วนของผู้ถือหุ้น   ประกอบด้วย ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไร (ขาดทุน) สะสมองค์ประกอบอื่นของส่วนของ          ผู้ถือหุ้น
3.3.1 ทุนเรือนหุ้น (share capital) ประกอบด้วย
3.3.1.1  ทุนจดทะเบียน (authorized share capital) หมายถึง ทุนของบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แสดงชนิดของหุ้น จำนวนหุ้นและมูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียน   แต่ละชนิด ได้แก่ หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stocks) และหุ้นสามัญ (common stocks)
3.3.1.2  ทุนที่ชำระแล้ว (paid-up share capital) หมายถึง จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้วให้แสดงเป็นหุ้นแต่ละชนิด ได้แก่ หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stocks) และหุ้นสามัญ (common stocks)
3.3.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (share premium account)
3.3.2.1 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ (share premium account-preferred shares) หมายถึง เงินหรือมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นบุริมสิทธิส่วนที่สูงกว่า     มูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้นบุริมสิทธิ
3.3.2.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ (share premium account-ordinary shares) หมายถึง เงินหรือมูลค่าของสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นสามัญส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนของหุ้นสามัญ
 3.3.3 กำไร (ขาดทุน) สะสม (retained earnings)
3.3.3.1 จัดสรรแล้ว (appropriated)
1) ทุนสำรองตามกฎหมาย (legal reserve) หมายถึง ทุนสำรองที่กันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2อื่น ๆ (others) หมายถึง จำนวนที่จัดสรรจากกำไรสะสมเพื่อการใดนอกเหนือจากจัดสรรเพื่อเป็นทุนสำรองตามกฎหมายที่ได้แสดงไว้ ทั้งนี้ให้แสดงเป็นแต่ละประเภท เช่น กำไรสะสมที่จัดสรรไว้เพื่อเป็นทุนขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กำไรสะสมที่จัดสรรไว้เพื่อเป็นสำรองสำหรับการรักษาระดับเงินปันผล กำไรสะสมที่จัดสรรไว้เพื่อเป็นสำรองสำหรับการขยายกิจการหรือตามเงื่อนไขของภาระผูกพัน
3.3.3.2 ยังไม่ได้จัดสรร (unappropriated) หมายถึง กำไร (ขาดทุน) สะสมเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงานที่คงเหลือหลังจากการจัดสรรแล้ว ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็น        ผลขาดทุนสะสม ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บและเรียกเป็น "ขาดทุนสะสม"
3.3.4 องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น (other components of shareholders, equity) หมายถึงยอดรวมของผลสะสมเมื่อสิ้นรอบระยะเวลารายงานของผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงิน ผลต่างกำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขายและผลต่างกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
การแสดงส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงินแสดงดังนี้
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น



   ทุนจดทะเบียน


20,000,000
   ทุนที่ชำระแล้ว


5,000,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น


1,000,000
กำไร (ขาดทุน) สะสม



   จัดสรรแล้ว



      ทุนสำรองตามกฎหมาย
100,000


      อื่น ๆ
100,000      
200,000

ยังไม่ได้จัดสรร                                                  
           
100,000
300,000
องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น


(100,000)
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น      


6,200,000

                                   


รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงินสามารถรายงานได้ 2 รูปแบบ คือ แบบบัญชีหรือแบบตัวที และแบบรายงาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1 งบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี

บริษัทศรีรัตนา จำกัด
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท
สินทรัพย์
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
สินทรัพย์หมุนเวียน

หนี้สินหมุนเวียน

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
312,400
     เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
215,100
     ลูกหนี้การค้า
91,600
     เงินกู้ยืมระยะสั้น
150,000
     สินค้าคงเหลือ
135,230
     ภาษีเงินได้ค้างจ่าย
35,000
     สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
25,650
          รวมหนี้สินหมุนเวียน
400,100
          รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
564,880
หนี้สินไม่หมุนเวียน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

     เงินกู้ยืมระยะยาว
120,000
     ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
350,700
          รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน
120,000
     ค่าความนิยม
80,800
ส่วนของผู้ถือหุ้น

     สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น
227,470
     ทุนจดทะเบียน
450,050
          รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
658,970
     กำไรสะสม
243,500


      องค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ
10,200


          รวมส่วนของเจ้าของ
703,750
รวมสินทรัพย์
1,223,850
 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
1,223,850








ตัวอย่างที่ 2 งบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน

บริษัทศรีรัตนา จำกัด
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน


     เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
312,400

     ลูกหนี้การค้า
91,600

     สินค้าคงเหลือ
135,230

     สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
25,650

          รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

564,880
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน


     ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
350,700

     ค่าความนิยม
80,800

     สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น
227,470

          รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

658,970
          รวมสินทรัพย์

1,223,850



หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน


     เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
215,100

     เงินกู้ยืมระยะสั้น
150,000

     ภาษีเงินได้ค้างจ่าย
35,000

          รวมหนี้สินหมุนเวียน

400,100
หนี้สินไม่หมุนเวียน


     เงินกู้ยืมระยะยาว
120,000

          รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน

120,000
          รวมหนี้สิน

520,100
ส่วนของผู้ถือหุ้น


     ทุนจดทะเบียน
450,050

     กำไรสะสม
243,500

     องค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ
10,200

          รวมส่วนของเจ้าของ

703,750
          รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

1,223,850

4 ความคิดเห็น:

  1. Watch manufacturing new technologies emerging replica watches

    but did not come to an end mechanical watches , although greatly reduced productionreplica watches manufacturing techniques but preserved.fifa 16 coins

    ตอบลบ
  2. This study was different from fausses montres omegapast research which has shown water consumption Replica Orologi Rolexto be an effective part of a weight loss program only when water takes the place of caloric beverages. While drinking water has wonderful health benefits, Repliche Orologi Rolex it didn’t seem that weight loss was one of them.

    ตอบลบ
  3. A schoolboy went home with a pain in his stomach. merken horloges mannen,horloges online heren"Well, sit down and eat your tea," said his mother. montblanc prezzi

    penne,orologi replica,penna mont blanc meisterstuck prezzo
    "Your stomach's hurting because it's empty. It'll be all right when you've got

    something in it."imitatie horloge,omega seamaster planet ocean replica,iwc replica horloges
      Shortly afterwards Dad come in from the office,rolex prijzen,omega kopen,beste replica horloge complaining of a headache.
      "That's because it's empty," said his bright son.cote montre

    breitling

    "You'd be all right if you had something in it."

    ตอบลบ