งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ





งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (statement of comprehensive income) หมายถึง งบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับงวด เพื่อสรุปผลการเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีในบัญชีหนึ่งว่ากิจการมีผลกำไร หรือขาดทุนสุทธิเท่าใดโดยผลกำไรจะทำให้ส่วนของเจ้าของกิจการเพิ่มขึ้น และผลขาดทุนจะทำให้ส่วนของเจ้าของกิจการลดลง (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552 )
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2554 ) กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องจัดทำงบกำไรขาดทุนได้ 2 รูปแบบ คือ จำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย และจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ค่าใช้จ่ายหรือวิธีต้นทุนขาย แบบขั้นเดียวและแบบหลายขั้น ดังนั้นงบกำไรขาดทุนของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด จึงสามารถจัดทำได้ 3 แบบคือ
1.    งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย
2.    งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว
3.    งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น
โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่องการนำเสนองบการเงิน (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552 ) ได้กำหนดการแสดงรายการในงบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว ไว้ดังนี้
1.    รายได้ (revenue) หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน ซึ่งส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น โดยไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของและรายการกำไร
1.1      รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (revenue from or revenue from rendering services) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า สิทธิ หรือบริการ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินได้ ทั้งนี้ให้แยกแสดงเป็นรายได้หลักแต่ละประเภท เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ เป็นต้น
1.2      รายได้อื่น (other income) หมายถึง รายได้จากการดำเนินงานนอกจากที่กำหนดไว้ข้อ 1.1 รวมถึงผลกำไรอื่น เช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน ผลกำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.    ค่าใช้จ่าย (expenses) หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลารายงาน หรือการลดค่าของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง โดยที่ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับเจ้าของและรายการขาดทุน
2.1      ต้นทุนขายและหรือต้นทุนการให้บริการ (costs of sales or cost of services)หมายถึง ต้นทุนของสินค้า สิทธิ หรือบริการที่ขาย รวมถึงราคาซื้อ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายไปเพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย โดยแยกแสดงเป็นต้นทุนตามประเภทของธุรกิจหลักของกิจการตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 1.1 เช่น ต้นทุนของสินค้าที่ขาย ต้นทุนของการให้บริการ เป็นต้น
2.2      ค่าใช้จ่ายในการขาย (sellingeexpenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเนื่อง     มาจากการขาย
2.3      ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (administrative expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวม
2.4      ค่าใช้จ่ายอื่น (other expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนอกจากค่าใช้จ่ายข้างต้นทั้งนี้ให้รวมถึงขาดทุนอื่น เช่น ผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน ผลขาดทุนจากการจำหน่ายที่ดินอาคาร อุปกรณ์ ผลขาดทุนจากการหยุดงานของพนักงาน
3.     กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (profit (loss) before finance costs and income tax expenses) หมายถึง ยอดรวมรายได้หักด้วยยอดรวมค่าใช้จ่าย แต่ก่อนหักต้นทุนเงินลงทุนทางการเงินและก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หากมีผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
4.    ต้นทุนทางการเงิน (finance costs) หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้สินของกิจการ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยที่เกิดจากสัญญาเช่าการเงิน เป็นต้น
5.    กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (profit (loss) before income tax expense) หมายถึง กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หักด้วย ต้นทุนทางการเงิน หากมีผลขาดทุนสุทธิให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
6.    ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (income tax expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่คำนวณขึ้น
7.    กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (net profit (loss)) หมายถึง กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หักด้วย ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หากมีผลขาดทุนสุทธิให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ


ตัวอย่างที่ 3 งบกำไรขาดทุน บริษัทจำกัด จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว

บริษัทศรีรัตนา จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท
รายได้


   รายได้จากการให้บริการ
890,000

   รายได้อื่น
3,500

รวมรายได้

893,500
ค่าใช้จ่าย


   ต้นทุนขาย
(123,600)

   ค่าใช้จ่ายในการขาย
(34,000)

   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
(54,200)

   ค่าใช้จ่ายอื่น
(1,300)

รวมค่าใช้จ่าย

(213,100)
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้

680,400
ดอกเบี้ยจ่าย

(2,300)
กำไรก่อนภาษีเงินได้

678,100
ภาษีเงินได้

(271,240)
กำไรสุทธิ

406,860









ตัวอย่างที่ 4 งบกำไรขาดทุน บริษัทจำกัด จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น

บริษัทศรีรัตนา จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท
รายได้


   รายได้จากการให้บริการ

890,000
หัก ต้นทุนขาย

(123,600)
กำไรขั้นต้น

766,400
บวก รายได้อื่น

3,500
กำไรก่อนค่าใช้จ่าย

769,900
ค่าใช้จ่าย


   ค่าใช้จ่ายในการขาย
(34,000)

   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
(54,200)

   ค่าใช้จ่ายอื่น
(1,300)

รวมค่าใช้จ่าย

(89,500)
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้

680,400
ดอกเบี้ยจ่าย

(2,300)
กำไรก่อนภาษีเงินได้

678,100
ภาษีเงินได้

(271,240)
กำไรสุทธิ

406,860








ส่วนบริษัทมหาชนจำกัด ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2554 ) ได้กำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดต้องจัดทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จได้ 2 ลักษณะ คือ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเพียงงบเดียว หรือแยกเป็นสองงบ คือ งบเฉพาะกำไรขาดทุน และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ โดยสามารถรายงานได้           2 รูปแบบ คือ แบบรายงานค่าใช้จ่ายตามวิธีลักษณะของค่าใช้จ่าย และแบบรายการค่าใช้จ่ายตามวิธีหน้าที่ค่าใช้จ่ายหรือวิธีต้นทุนขาย แบบขั้นเดียวและแบบหลายขั้น ดังนั้นงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จของบริษัทมหาชนจำกัดจึงสามารถจัดทำได้ 6 แบบคือ
1.    งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย(แสดงแบบ         งบเดียว)
2.    งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย (แสดงแบบ      สองงบ)
3.    งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว (แสดงแบบงบเดียว)
4.    งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว (แสดงแบบสองงบ)
5.    งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น (แสดงแบบ         งบเดียว)
6.    งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้น (แสดงแบบสองงบ)
            โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่องการนำเสนองบการเงิน (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552 ) ได้กำหนดรายการที่ต้องแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1.    รายได้
2.    ต้นทุนทางการเงิน
3.    ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัทร่วมและบริษัทร่วมค้าที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย
4.    ค่าใช้จ่ายภาษี
5.    ยอดรวมของกำไรขาดทุนหลังหักภาษีเงินได้จากการดำเนินงานที่ยกเลิก และผลกำไรหรือขาดทุนหลังหักภาษีเงินได้ที่รับรู้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมสุทธิหักจากต้นทุนในการขายหรือจากการจำหน่ายกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ยกเลิก
6.    กำไรหรือขาดทุน
7.    องค์ประกอบแต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่จัดประเภทตามลักษณะ
8.    ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้าที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย
9.    กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม
ตัวอย่างที่ 5 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ บริษัทมหาชนจำกัด จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว
    (แสดงแบบงบเดียว)

บริษัทอนุสรณ์ จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท


รายได้จากการให้บริการ
390,000
รายได้อื่น
20,667
การเปลี่ยนแปลงของสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ
(115,100)
งานที่ทำโดยกิจการและบันทึกเป็นสินทรัพย์
16,000
วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
(96,000)
ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน
(45,000)
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
(19,000)
ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
(4,000)
ค่าใช้จ่ายอื่น
(6,000)
ต้นทุนทางการเงิน
(15,000)
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม
35,100
กำไรก่อนภาษี
161,667
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
(40,417)
กำไรสำหรับปีจากการดำเนินงานต่อเนื่อง
121,250
ขาดทุนสำหรับปีจากการดำเนินงานที่ยกเลิก
-
กำไรสำหรับปี
121,250
การแบ่งปันกำไร

     ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่
97,000
     ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม
24,250

121,250
กำไรต่อหุ้น (บาท)

     พื้นฐานและปรับลด
0.46

1 ความคิดเห็น: